คีชอน (Keeshond) มันเป็นสายพันธุ์สุนัขจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีขนยาวและดูนุ่มฟูแล้วกับก้อนไหมมากๆ มาพร้อมกับสีขนที่มักจะเป็นสีโทนเทาและดำซึ่งดูสวยงามและมีเอกลักษณ์ เชื่อว่าหลายๆ ท่านอาจจะไม่เคยเห็นหน้ามันมาก่อน ดังนั้น มาทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้นในบทความนี้กัน
ข้อมูลทั่วไปของคีชอน
- ขนาดตัว: ปานกลาง
- ความสูงจากไหล่: 44 – 48 ซม.
- น้ำหนัก: 13 – 18 กก.
- อายุขัย: 13 – 15 ปี
- ความยาวขน: ยาว
- ความฉลาด: ฉลาดพอสมควร
- ถิ่นกำเนิด: ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ปริมาณการผลัดขน: สูง
- ความต้องการการเอาใจใส่: สูง
- ลักษณะเฉพาะ: หูตั้งทรงสามเหลี่ยม หางม้วนขึ้นไปบนหลัง ขนยาวและฟูมากๆ จนทำให้มันดูมีความอ้วนกลม บริเวณปากจะมีสีดำ สีขนมักจะเป็นโทนสีเทาดำ
ประวัติของคีชอน
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสุนัขสายพันธุ์นี้อยู่บนโลกมานานกี่ร้อยปีแล้ว แต่สิ่งที่รู้คือมันเป็นญาติๆ ของสุนัขพันธุ์ซามอยด์ ปอมเมอเรเนียน และเชาเชา ในช่วงศตวรรษที่ 17 ชาวดัตช์มันมักจะถูกนำขึ้นเรือไปเป็นยามสำหรับเฝ้าสินค้าต่างๆ บนเรือ แล้วมันยังเป็นเพื่อนคลายเหงาที่ดีของเหล่ากะลาสีบนเรือทั้งหลายด้วย
ในช่วงศตวรรษที่ 18 เริ่มมีเรื่องการเมืองของประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาเกี่ยวข้องกับสุนัขสายพันธุ์นี้ มันเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นอย่างมากและถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับกลุ่มคนที่ต่อต้านราชวงศ์ออเรนจ์ (House of Orange) ในยุคสมัยนั้น แต่เมื่อสงครามทางการเมืองได้สิ้นสุดลง ที่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายที่ต่อต้านราชวงศ์ จึงทำให้มีการกำจัดสุนัขสายพันธุ์นี้ออกไปเป็นจำนวนมากจนมันมีจำนวนประชากรเหลือน้อยลงเต็มที แต่โชคยังดีที่มีผู้หญิงชาวอังกฤษท่านหนึ่งในวัย 17 ปีที่ชื่อว่า Hamilton-Fletcher ได้เดินทางไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์กับครอบครัวและเพื่อนๆ ของเธอ ซึ่งเธอก็ได้พบเจอกับสุนัขสายพันธุ์นี้และตกหลุมรักในตัวมันเข้า จึงได้อ้อนวอนพ่อแม่ของเธอเพื่อที่จะนำสุนัขเหล่านี้ก็ไปยังบ้านเกิดของตน ซึ่งผู้ปกครองของเธอก็อนุญาตให้เธอนำสุนัขเหล่านี้กลับบ้าน เธอจึงได้นำสุนัขเหล่านี้ไปเพาะพันธุ์ที่ประเทศอังกฤษจนมันเริ่มมีจำนวนที่มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ทางประเทศฮอลแลนด์ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับการลดลงของสุนัขสายพันธุ์นี้เช่นกัน จึงได้พยายามฟื้นฟูประชากรของมัน และได้มีการส่งตัวมันไปยังประเทศต่างๆ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมันก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากองค์กร American kennel club ในปี ค.ศ. 1930 และได้มีการก่อตั้งชมรมสุนัขสายพันธุ์นี้ที่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1935
ลักษณะนิสัยของคีชอน
มันเป็นสุนัขที่จงรักภักดี ซื่อสัตย์ เชื่อฟัง และรักใคร่คนในครอบครัวเป็นอย่างมาก การใช้เวลาอยู่กับคนในครอบครัวเป็นประจำจะทำให้มันมีความสุข มันยังมีความ ขี้เล่น ซุกซน ร่าเริงและกระฉับกระเฉงอยู่บ้าง มันจึงเป็นตัวสร้างความสนุกสนานให้กับคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี มันมีระดับความเป็นมิตรที่สูงและชอบเข้าสังคม จึงทำให้มันสามารถเข้ากันกับผู้คนรอบข้างและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นได้อย่างง่ายดาย แต่มันไม่ชอบการถูกทิ้งให้อยู่ตัวคนเดียวนานๆ เป็นอย่างมาก ไม่เช่นนั้น มันก็อาจจะมีการเห่าพร่ำเพรื่อและมีพฤติกรรมทำลายล้างข้าวของได้ มันจึงเหมาะกับผู้ที่มีเวลาอยู่ร่วมกันกับสุนัขบ้างเท่านั้น
นอกจากนี้ มันยังค่อนข้างชอบเห่า ข้อดีของมันคือมันจะสามารถเห่าคนแปลกหน้าที่กำลังเข้ามาใกล้บ้านของคุณได้ แต่ข้อเสียคือสุนัขบางตัวอาจจะเห่ามากเกินไปบ้าง เราจึงต้องควบคุมปริมาณการเห่าของสุนัขบางตัวสักหน่อย
ความหลากหลายของสีสุนัข
สีตา
มันเป็นสุนัขที่มีตาโทนสีน้ำตาลดำ
สีขนและสีตัว
สีขนของมันมีให้เลือกเพียงแค่ไม่กี่แบบ เช่น สีดำ-เงิน, เทา-ดำ, เงิน-ดำ, เทาอมครีม-ดำ, เทาอมเงิน-ดำ, ดำล้วน เป็นต้น
ความเป็นมิตรของเจ้าตูบที่มีต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยง
ส่วนมากสุนัขสายพันธุ์นี้จะมีระดับความเป็นมิตรที่สูงเอามากๆ จึงทำให้มันสามารถเข้ากันได้ดีกับเด็กๆ ภายในบ้านและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นที่อยู่ในบ้านได้เป็นอย่างดี แถมมันยังมีความขี้เล่นและร่าเริงอยู่บ้าง จึงทำให้มันสามารถเป็นเพื่อนเล่นกับเด็กๆ และเพื่อนสุนัขตัวอื่นได้เป็นอย่างดี ถ้าเป็นเด็กแปลกหน้าหรือสุนัขตัวอื่นที่มันเพิ่งรู้จัก ถึงแม้ว่าตอนแรกมันจะเห่าเพื่อขับไล่บ้าง แต่มันก็จะทำความรู้จักและทำความคุ้นเคยกับผู้นั้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้มันสามารถอยู่ร่วมกันกับพวกเขาและเป็นเพื่อนเล่นที่ดีให้กับพวกเขาได้เช่นกัน ถ้าคุณกำลังมองหาสุนัขที่เข้ากันกับผู้อื่นง่าย เจ้านี้น่าจะเหมาะกับคุณ
การดูแลคีชอน
การดูแลด้านการออกกำลังกาย
สุนัขสายพันธุ์นี้มีพลังงานอยู่ในระดับปานกลาง นั่นหมายความว่ามันก็ต้องการการวิ่งเล่นและออกกำลังกายเช่นกัน ผู้เลี้ยงควรมีเวลามาพาเจ้าตูบไปเดินเล่นข้างนอก วิ่งเล่นออกกำลังกาย ว่ายน้ำ หรือจะให้มันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ออกแรงกับคนในครอบครัวก็ได้ เช่น เล่นชักเย่อผ้ากับมัน เราแนะนำว่าระยะเวลาควรจะอยู่ประมาณ 30-50 นาทีต่อวัน เพื่อให้สุนัขปลดปล่อยพลังงานที่มีอยู่ในตัว ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้มันไม่เครียด ไม่เก็บกด ไม่หดหู่ ไม่เบื่อ และเพื่อให้เจ้าตูบมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ หากมันไม่ได้รับการปลดปล่อยพลังงานมากพอ อาจจะมีปัญหาเรื่องการเห่ามากเกินไป ชอบขุดและทำลายล้างข้าวของ
การดูแลเรื่องการเข้าสังคมและการฝึกสอน
ถึงแม้ว่าระดับความเป็นมิตรของมันจะสูงมากอยู่แล้ว แต่คุณก็ควรพามันไปทำความรู้จัก และทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่ที่มันยังเป็นลูกสุนัข เพื่อให้มันรู้สึกคุ้นเคยและรักพวกเขา รวมถึงให้มันไปเข้าสังคมกับคนแปลกหน้า และเพื่อนสัตว์เลี้ยงตัวอื่นด้วย เพื่อให้มันเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ส่วนเรื่องการฝึกสอนสุนัข มันเป็นสุนัขที่มีความฉลาดและชอบทำกิจกรรมกับเจ้าของอยู่แล้ว จึงทำให้การสวนมันจะเป็นไปอย่างราบรื่น การสอนสุนัขแบบเสริมแรงเชิงบวก โดยการให้รางวัลเป็นขนม คำชมเชย และลูบหัวหลังจากมันทำอะไรบางอย่างที่คุณสอนได้ จะทำให้มันสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
เรื่องการดูแลขนและความสะอาด
ขนยาวฟูของมันจะเป็นแบบขนสองชั้น แต่ปริมาณการผลัดขนของมันจะไม่ค่อยเยอะ แต่ขนของมันก็ยังต้องการการแปรงขนเป็นประจำทุกสัปดาห์เพื่อให้ขนของมันดูดีและไม่พันกัน ช่วงที่มันผลัดขนก็ควรแปรงขนมันให้บ่อยกว่าเดิมเพื่อช่วยมันกำจัดคนที่ผลัดออกมาออกจากร่างกายให้หมด ส่วนเรื่องความสะอาด เราควรตัดเล็บ ทำความสะอาดใบหน้าใบหู แปรงฟัน ตัดเล็มขนส่วนเกิน และอาบน้ำให้มันบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อความสะอาดของตัวเจ้าตูบเอง
การดูแลเรื่องสุขภาพโดยรวม
ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีอากาศร้อนมากๆ โดยเฉพาะในหน้าร้อน เราจึงควรระวังเรื่องโรคลมแดดในสุนัขไว้บ้างก็ดี วิธีป้องกันเบื้องต้น คือ เราควรให้สุนัขอยู่ในที่ที่อากาศไม่ร้อน มีอากาศถ่ายเท ไม่อบอ้าว ไม่มีแดดส่องลงมาโดนสุนัขตรงๆ เป็นเวลานาน ไม่ให้สุนัขวิ่งเล่นและทำกิจกรรมหนักๆ ในช่วงกลางวัน หมั่นเช็คว่าเรามีน้ำดื่มให้มันมากพอ แล้วอย่าลืมสุนัขทิ้งไว้บนรถยนต์ร้อนๆ ที่ดับเครื่องแล้ว
เราต้องคอยควบคุมรูปร่าง และน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในระดับมาตรฐานอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้สุนัขของคุณเป็นโรคอ้วน (Obesity) ที่จะเป็นตัวนำพาปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาภายหลัง ด้วยการพาเจ้าตูบไปวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อีกส่วนนึงคือการควบคุม เอาใจใส่คุณภาพและปริมาณอาหารของสุนัขให้ดี เลือกประเภทอาหารที่คุณสะดวกและเหมาะสมกับสุนัขของคุณ จะเป็นการทานอาหารปกติทั่วไป ทานอาหารแบบบาร์ฟ หรือจะเป็นอาหารที่ทำมาเพื่อสุนัขโดยเฉพาะเลยก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอาหารแบบใด เราก็ต้องให้มันทานในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดตัว และเราควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มันทานขนมของมนุษย์ที่มีแคลอรี่และโซเดียมสูงมากเกินไป เราแนะนำว่าให้ใช้ขนมที่ทำมาสำหรับสุนัขโดยเฉพาะจะดีกว่า ขนมสุนัขเหล่านี้ยังมีแบบที่ช่วยขัดฟันสุนัขได้ด้วยนะ
โรคภัยต่างๆ ที่อาจพบใน Keeshond
- โรคสะบ้าเคลื่อน (Patellar Luxation): อาการที่สามารถสังเกตได้จากภายนอกคือ สุนัขเดินกะเผลก ดูมีความเจ็บปวดที่ขา และไม่กล้าทิ้งน้ำหนักลงไปที่ขา มันเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ แต่เราก็สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ในสุนัขได้ วิธีการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคนี้ในสุนัขก็คือเราต้องควบคุมน้ำหนักตัวของมันให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงคอยระวังไม่ให้สุนัขได้รับแรงกระแทกที่ข้อเข่ามากเกินไป เช่น การวิ่งขึ้นลงบันไดที่รุนแรงเกินไป
- โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy): เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ที่จะทำให้สุนัขมองเห็นได้ไม่ค่อยดีในที่มืด และมักจะเดินชนสิ่งต่างๆ อยู่บ่อยๆ
- ข้อสะโพกเสื่อม(Hip Dysplasia): เป็นปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกที่สุนัขหลายพันธุ์มักจะพบเจอ การควบคุมน้ำหนักของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดโอกาสในการมีปัญหาเกี่ยวกับข้อสะโพก
นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการเกิดโรคภัยอื่นๆ อีก เช่น
- โรคลำไส้อักเสบ (Canine Parvo Virus)
- โรคพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- ไตวาย (Kidney Failure)
- ต้อกระจก(Cataract)
- โรคพิษสุนัขบ้า (Riabies)
- โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
- โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
- โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)
- กลากเกลื้อน (Ringworm)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า Keeshond
- มันมีความขี้เล่น ซุกซน และร่าเริงในระดับที่กำลังน่ารัก
- มันมีระดับความเป็นมิตรที่สูงมาก สามารถเข้ากันกับผู้อื่นได้ง่าย
- มันมีความสามารถในการเห่าเฝ้าบ้านที่ดี
- ขนของมันต้องการการดูแลเป็นประจำเพื่อให้ขนไม่ติดพันกัน
Keeshond เหมาะกับผู้ที่
- ชอบสุนัขขนาดกลาง
- มีเวลาอยู่ร่วมกับมัน ดูแลขน และมีปฏิสัมพันธ์กับมันเป็นประจำ
- ชอบสุนัขขนยาวและนุ่มฟู
- ชอบสุนัขที่ไม่ซุกซนมากเกินไป
- ชอบสุนัขที่มีระดับความเป็นมิตรสูง
คำถามที่พบบ่อย
- เลี้ยงในหอพักหรือคอนโดได้ไหม: เลี้ยงได้ แต่ว่าสุนัขบางตัวอาจจะเห่าเยอะจนไปรบกวนผู้อื่น จึงต้องมีการฝึกอบรมมันในจุดนี้บ้าง
- เหมาะกับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไหม: ไม่ค่อยเหมาะกับคนเป็นภูมิแพ้
- เลี้ยงกับสุนัขตัวอื่นได้ไหม: เลี้ยงกับสุนัขตัวอื่น และแมวตัวอื่นได้ดี
- เหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนในครอบครัวไหม: เหมาะเป็นอย่างยิ่ง
- เฝ้าบ้านได้ไหม: พอเห่าเฝ้าบ้านได้บ้าง
เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ
อ่านเรื่องไหนต่อดี
สุนัขพันธุ์ปักกิ่ง (Pekingnese) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล
7 อาหารสุนัขโรคไต ยี่ห้อไหนดีและช่วยดูแลสุขภาพไต ปี 2023
ออสเตรเลียน แคทเทิล ด็อก (Australian Cattle Dog) ข้อมูล นิสัยและการดูแลสุนัข
บริติช ลองแฮร์ (British Longhair) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแลแมว
ที่ลับเล็บแมว Diy แบบง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
หนูตะเภาพันธุ์เรกซ์ (Rex Guinea Pig) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล
กระต่ายพันธุ์ดัตช์ (Dutch rabbit) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล
นกแก้วบอร์ก (Bourke’s Parakeet) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล