ข้อมูลทั่วไปของไจแอนท์ อลาสกัน มาลามิวท์
- ขนาดตัว: ใหญ่มาก
- ความสูง: 63.5 – 90 ซม.
- น้ำหนัก: 45 – 68 กิโลกรัม สามารถหนักกว่านี้อีก
- ลักษณะเฉพาะ: ขนยาวและหนา ตัวใหญ่มาก สีตัวคล้ายๆ ไซบีเรียน
- อายุขัย: 10 – 14 ปี
- ปริมาณการผลัดขน: มาก
- ความฉลาด: ปานกลาง
- ถิ่นกำเนิด: อลาสก้า, สหรัฐอเมริกา
ประวัติของ Giant Alaskan Malamute
ลักษณะนิสัยของไจแอนท์ อลาสกัน มาลามิวท์
ความหลากหลายของสีสุนัข
สีตา
สีขน
ความเป็นมิตรของไจแอนท์ อลาสกัน มาลามิวท์ ที่มีต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
การดูแลไจแอนท์ อลาสกัน มาลามิวท์
การดูแลด้านการออกกำลังกาย
การดูแลเรื่องการเข้าสังคมและการฝึกสอน
ถึงแม้ว่ามันจะมีความเป็นมิตรและอ่อนโยนกับผู้คนอยู่แล้ว แต่เราก็ควรพามันออกไปเข้าสังคมบ้าง ไม่เช่นนั้นมันอาจจะมีความเก็บกด หดหู่ และเข้ากันกับผู้อื่นไม่ดีเท่าที่ควร เราควรพามันไปพบกับคนแปลกหน้า และสุนัขตัวอื่น เพื่อให้มันเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งมีส่วนช่วยให้มันเข้ากันกับผู้คนและสุนัขตัวอื่นได้ดีขึ้น รวมถึงให้มันไปทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวบ้างซึ่งจะทำให้มันผูกพันและแน่นแฟ้นกับพวกเขา ส่วนเรื่องการฝึกสอน มันค่อนข้างฉลาดและเรียนรู้ไว แต่มีรางวัลตอบแทนให้มัน มันก็พร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับคุณแล้ว
เรื่องการดูแลขนและความสะอาด
การดูแลขนยาวๆ แบบสองชั้นให้สุนัขตัวใหญ่อย่างเจ้านี่เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสพอสมควร เราต้องใช้แปรงขนาดใหญ่มาแปรงขนให้มันเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในช่วงที่มันผลัดขนก็ควรเพิ่มความถี่ในการแปรงขน เพราะมันจะทำให้ขนของสุนัขไม่พันกันจนเป็นก้อน และช่วยนำเอาขนที่มันผลัดออกมาจากร่างกายให้หมด ส่วนเรื่องการทำความสะอาด เราควรมีการเช็ดทำความสะอาดใบหน้าและส่วนต่างๆ ของร่างกายให้มันบ้าง รวมถึงมีการตัดเล็บ ตัดขน และอาบน้ำให้เจ้าตูบบ้าง ความบ่อยก็ขึ้นอยู่กับความสกปรกของสุนัข
การดูแลด้านสุขภาพโดยรวม
สุนัขสายพันธุ์นี้เป็นสุนัขเมืองหนาวที่ตัวใหญ่และขนยาวหนามาก จึงควรให้สุนัขอยู่ในที่ที่อากาศไม่ร้อน อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีแดดส่อง และมีน้ำดื่มมากพอ เพื่อป้องกันการเกิดฮีทสโตรกในสุนัขในวันที่อากาศร้อนจัด
พยายามควบคุมรูปร่าง และน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อป้องกันโอกาสการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคข้อสะโพกเสื่อม เป็นต้น ด้วยการพาเจ้าตูบไปวิ่งหรือเดินจ๊อกกิ้งเบาๆ อีกส่วนนึงคือการควบคุมและเอาใจใส่คุณภาพปริมาณอาหารของสุนัขให้ดี ถ้าเป็นอาหารทั่วไป ก็ควรให้อาหารที่ไม่ได้ปรุงแต่งเครื่องปรุงใดๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ ผักและผลไม้ชนิดที่สุนัขทานได้ ถ้าเป็นอาหารสำหรับสุนัขก็สามารถเลือกสูตรที่เข้ากับสุนัขของตนเองได้เลย ปริมาณอาหารก็ควรมากกว่าอลาสกันแบบปกติ เพราะขนาดตัวมันใหญ่กว่า
โรคภัยต่างๆ ที่อาจพบใน Giant Alaskan Malamute
- โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia): เป็นปัญหาสุขภาพที่อลาสกันและสุนัขสายพันธุ์อื่นๆ มักจะเจอ เราสามารถลดโอกาสการเกิดโรคนี้ให้สุนัขได้โดยการควบคุมน้ำหนักสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการคุมปริมาณและคุณภาพของอาหารให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดตัว และการพาสุนัขออกไปวิ่งออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นครั้งคราว
- กระเพาะอาหารขยายและบิดตัว (Gastric dilatation-volvulus): เกิดจากการที่กระเพาะขยายตัวจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหาร และเกิดการบิดตัวขึ้นที่กระเพาะอาหาร ซึ่งมักจะเกิดกับสุนัขขนาดตัวค่อนข้างใหญ่
- ภาวะไทรอยด์ต่ำผิดปกติ (Hypothyroidism): เกิดจากการที่สุนัขมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติซึ่งถือว่าเป็นความผิดปกติของร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเจอโรคภัยอื่นๆ อีก เช่น
- ต้อกระจก(Cataract): สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ
- กระจกตาเสื่อม (Corneal Degeneration/ Dystrophy): วิธีสังเกตุก็คือ มันจะมีจุดเล็กๆ สีขาว ในกระจกตา พบได้บ่อยในสุนัขวัยชรา
- โรคลมแดด (Heatstroke): เกิดจากร่างกายของสุนัขระบายความร้อนที่สูงไม่ได้
- จอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
- โรคข้อศอกเสื่อม (Elbow Dysplasia)
- ไตวาย (Kidney Failure)
- โรคพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm)
- โรคพิษสุนัขบ้า (Riabies)
- โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
- โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
- โรคอ้วน (Obesity)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า Giant Alaskan Malamute
- มันเป็นสุนัขที่ตัวใหญ่และหนักมากๆ
- ไม่ค่อยแอคทีพ
- ควรพาออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายบ้างนิดหน่อย
- เป็นมิตรกับมนุษย์
- เตรียมตัวรับมือให้ดีในช่วงผลัดขนของมัน
- ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงค่อนข้างสูง
- ใจดี
- กินเยอะ เนื่องจากตัวใหญ่
- ช่วงผลัดขน ขนจะร่วงเยอะมาก
- มันเปนสุนัขที่ขี้ร้อน
Giant Alaskan Malamute เหมาะกับผู้ที่
- ไม่ชอบเลี้ยงหมาดุ
- ผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นด้วย เช่น แมว
- ผู้มีมีเด็กอยู่ในบ้าน
- ชอบหมาที่ไม่ค่อยเห่า
- มีเวลาให้สุนัข
- ชอบเลี้ยงหมาตัวใหญ่ขนฟู
- มีงบประมาณในการเลี้ยงสุนัขมากพอ
FAQ
- เลี้ยงในหอพักได้ไหม: พอเลี้ยงได้ แต่ไม่ค่อยเหมาะ
- ดุไหม: ไม่ดุเลย
- เลี้ยงกับแมวได้ไหม: สามารถเลี้ยงกับแมวได้ปกติ
- เลี้ยงกับเด็กได้ไหม: ได้ปกติ
- เฝ้าบ้านได้ไหม: ไม่เหมาะกับการเฝ้าบ้าน
- เหมาะกับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไหม: ไม่ค่อยเหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้
เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ
อ่านเรื่องไหนต่อดี
บรัสเซิลส์ กริฟฟัน (Brussels Griffon) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแลสุนัข
10 สายรัดอกสุนัข แบบไหนดีและคนชอบใช้บ้าง ปี 2023
เคล็ดลับที่ช่วยทำให้แมวกับหมาอยู่ร่วมกันได้
10 อาหารแมว Whiskas แบบไหนดีและเหมาะกับแมวของคุณ ปี 2023
วิธีกำจัดกลิ่นฉี่แมวแบบง่ายๆ ที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้าน
8 ชามข้าวสุนัข แบบไหนดีและคนชอบใช้บ้าง ปี 2023
7 คอกสุนัข แบบไหนดีและมีพื้นที่กว้างขวาง ปี 2023
9 ปัตตาเลี่ยนตัดขนสุนัขและแมว แบบไหนดี ตัดขนได้เรียบเนียน 2023