ข้อมูลทั่วไปของเชาเชา
- ขนาดตัว: ปานกลาง
- ความสูง: ตัวผู้: 48-55 ซม. ตัวเมีย: 45-50 ซม.
- น้ำหนัก: เพศผู้: 25-33 กก. เพศเมีย: 22-26 กก..
- ลักษณะเฉพาะ: ขนยาวปุกปุยและหนา สิ้นสีม่วงๆ ดำๆ
- ความยาวขน: มาก
- อายุขัย: 9-15 ปี
- ปริมาณการผลัดขน: ปานกลาง
- ความฉลาด: ปานกลาง
- ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน
ประวัติของ Chow Chow
ลักษณะนิสัยของเชาเชา
ความหลากหลายของสีสุนัข
สีตา
สีขน
ความเป็นมิตรของเชาเชา ที่มีต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
การดูแลเชาเชา
ด้านการออกกำลังกาย
เรื่องการดูแลขนและความสะอาด
ขนยาวๆ สองชั้นของมันต้องการการดูแลใส่ใจเรื่องขน คุณควรเตรียมที่แปรงขนหรือถุงมือสำหรับหวีขนสัตว์เลี้ยงมาแปรงขนให้มันเป็นประจำ เพื่อนำขนตายที่ติดอยู่ในตัวมันออกมาและเพื่อให้ขนของมันไม่จับตัวกันเป็นก้อน ส่วนเรื่องความสะอาด คุณควรคอยดูแลความสะอาดของใบหน้า รอบดวงตา และใบหูของมัน รวมถึงมีการตัดเล็บ แปรงฟัน และอาบน้ำให้มันบ้าง โดยเฉพาะสุนัขสีขาว ที่ต้องการการดูแลทำความสะอาดเพื่อให้ขนของมันดูดีอยู่เสมอ
การดูแลเรื่องการเข้าสังคมและการฝึกสอน
ส่วนมากเชาเชาเป็นสุนัขที่ค่อนข้างรักสันโดษอยู่แล้ว เราจึงควรพามันไปฝึกเข้าสังคมบ้าง เราควรพามันไปพบปะกับสมาชิกในครอบครัวและให้มันทำกิจกรรมร่วมกับพวกเขา ซึ่งจะทำให้มันผูกพันและรักคนในครอบครัว และมีการพามันไปพบเจอกันคนแปลกหน้าและสุนัขตัวอื่นตั้งแต่มันยังเล็ก เพื่อให้มันสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ดีขึ้น ส่วนเรื่องการฝึกสอน เราต้องฝึกฝนมันมาอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็ก ต้องฝึกฝนให้มันรู้ว่าเราคือจ่าฝูงของมัน ไม่เช่นนั้น มันอาจจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
การดูแลด้านสุขภาพโดยรวม
สุนัขสายพันธุ์นี้เป็นสุนัขที่ขนยาวและหนา จึงควรให้สุนัขอยู่ในที่ที่อากาศไม่ร้อน อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีแดดส่อง และมีน้ำดื่มมากพอ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขออกแรงเยอะในช่วงกลางวันที่อากาศร้อน เพื่อป้องกันการเกิดฮีทสโตรกในสุนัขในวันที่อากาศร้อนจัด
พยายามควบคุมรูปร่าง และน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) และโรคอ้วน (Obesity) เป็นต้น ด้วยการพาเจ้าตูบไปวิ่งเล่น ทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านอย่างพอดี อีกส่วนนึงคือการควบคุมและเอาใจใส่คุณภาพปริมาณอาหารของสุนัขให้ดี ถ้าเป็นอาหารทั่วไป ก็ควรให้อาหารที่ไม่ได้ปรุงแต่งเครื่องปรุงใดๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ ข้าวเปล่า ผักและผลไม้ชนิดที่สุนัขทานได้ ถ้าเป็นอาหารสำหรับสุนัขก็สามารถเลือกสูตรที่เข้ากับสุนัขของตนเองได้เลย เช่น สูตรขนเงางาม สูตรสำหรับสุนัขขนาดกลาง เป็นต้น
โรคภัยต่างๆ ที่อาจพบใน Chow Chow
- โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia): เป็นปัญหาสุขภาพที่สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ และเชาเชามักจะเจอ เราสามารถลดโอกาสการเกิดโรคนี้ให้สุนัขได้โดยการควบคุมน้ำหนักสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการคุมปริมาณและคุณภาพของอาหารให้พอดีกับตัวสุนัข และการพาสุนัขออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างพอดีเป็นประจำ
- ภาวะไทรอยด์ต่ำผิดปกติ (Hypothyroidism): เกิดจากการที่สุนัขมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติซึ่งถือว่าเป็นความผิดปกติของร่างกาย
- โรคอ้วน (Obesity): วิธีการช่วยลดโอกาสที่สุนัขจะเป็นโรคอ้วน คือ เราควรให้มันทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ให้มันออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานส่วนเกินบ้าง และไม่ให้มันทานขนมสำหรับมนุษย์ที่มีแคลลอรี่สูงมากเกินไป
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเจอโรคภัยอื่นๆ อีก เช่น
- ต้อกระจก(Cataract): สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ
- กระจกตาเสื่อม (Corneal Degeneration/ Dystrophy): วิธีสังเกตุก็คือ มันจะมีจุดเล็กๆ สีขาว ในกระจกตา พบได้บ่อยในสุนัขวัยชรา
- จอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
- โรคข้อศอกเสื่อม (Elbow Dysplasia)
- โรคลำไส้อักเสบ (Canine Parvo Virus)
- โรคพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- ไตวาย (Kidney Failure)
- โรคพิษสุนัขบ้า (Riabies)
- โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
- โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า Chow Chow
- ไม่ค่อยเป็นมิตรกับสัตว์ตัวอื่นสักเท่าไหร่
- ควรพาออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง
- รักเจ้าของและครอบครัว
- ช่วงผลัดขน ขนจะร่วงค่อนข้างเยอะ
- เป็นสุนัขที่ไม่ชอบเข้าสังคมสักเท่าไหร่
- ชอบอยู่คนเดียวเงียบๆ สบายๆ
- มีความหวงอาณาเขตพอสมควร เนื่องจากว่ามันเคยเป็นสุนัขเฝ้ายาม มีทักษะการเฝ้าบ้านที่ดี
Chow Chow เหมาะกับผู้ที่
- เลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน
- ชอบสุนัขที่มักจะอยู่เฉยๆ
- เลี้ยงสุนัขตัวเดียว
- ชอบสุนัขขนฟู
- มีเวลาให้สุนัขบ้าง
- ชอบสุนัขที่มีความซื้อสัตย์ จงรักภักดีกับเจ้าของ
FAQ
- เลี้ยงในหอพักได้ไหม: ไม่เหมาะ
- ดุไหม: ดุปานกลาง
- เลี้ยงกับแมวได้ไหม: สามารถเลี้ยงกับแมวได้ แต่ว่าควรได้รับการฝึกให้อยู่ด้วยกันมาก่อนจะดีกว่า
- เลี้ยงกับเด็กได้ไหม: พอได้สำหรับสุนัขที่ได้รับการฝึกให้อยู่ร่วมกับเด็กมาแล้ว
- เหมาะกับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไหม: มันไม่ใช่สุนัขที่เหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้มากนัก
- เฝ้าบ้านได้ไหม: เฝ้าบ้านได้ดี
เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ
อ่านเรื่องไหนต่อดี
ผลไม้ที่แมวกินได้และดีต่อสุขภาพเจ้าเหมียว
นกแก้วหัวพลัม (Plum-Headed Parakeet) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล
โรดีเซียน ริดจ์แบ็ค (Rhodesian Ridgeback) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล
ประตูสุนัข แบบไหนดี มีความแข็งแรง และรีวิวปังบ้าง ปี 2023
อเมริกัน เคิร์ล (American Curl) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแลแมว
หนูตะเภาเปรู (Peruvian Guinea Pig) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแล
11 สายพันธุ์สุนัขสีส้ม ที่ดูสวยงามสดใส แถมยังน่ารักด้วย
10 ปลอกคอสุนัข แบบไหนดีและรีวิวปังบ้าง ปี 2023