บ็อกเซอร์ (Boxer) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแลสายพันธุ์สุนัขจากเยอรมนี

บ็อกเซอร์
แชร์ได้เลยที่ปุ่มด้านล่าง

เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ

บ็อกเซอร์ (Boxer) เป็นสายพันธุ์สุนัขจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง ที่มีขนยาว หูพับที่มาพร้อมกับสีตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเจ้าบ็อกเซอร์ให้มากขึ้นในบทความนี้กัน

ข้อมูลทั่วไปของบ็อกเซอร์ 

  • ขนาดตัว:  ปานกลาง
  • ความสูง:  เพศเมีย: 52–60 ซม.  เพศผู้: 56–63 ซม.
  • น้ำหนัก:  เพศเมีย: 24–29 กก.  เพศผู้: 27–33 กก.
  • อายุขัย:  10 – 12 ปี
  • ความยาวขน: สั้น
  • ความฉลาด:  ปานกลาง
  • ถิ่นกำเนิด:  ประเทศเยอรมนี (Germany)
  • การเอาใจใส่: ปานกลาง
  • ปริมาณการผลัดขน: ปานกลาง
  • ลักษณะเฉพาะ:  มีกล้ามเนื้อค่อนข้างเยอะ ปากสั้น หน้าบึ้ง ช่วงอกกว้าง

ประวัติของ Boxer

บรรพบุรุษของเจ้าบ็อกเซอร์นั้นเป็นสายพันธุ์สุนัขที่มีชื่อว่าสายพันธุ์บูลเลนไบเซอร์ (bullenbeisser) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับมาสทิฟท์ บลูด็อก และอาจจะมีสุนัขตระกูลเทอเรีย (Terrier) ด้วย จุดเริ่มต้นของสุนัขสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีการผสมพันธุ์สุนัขระหว่างสายพันธุ์ข้างต้นที่ประเทศเยอรมนี เพื่อพยายามสร้างสุนัขสายพันธุ์ใหม่ๆ และในที่สุดก็ออกมาเป็น Boxer ที่เรารู้จักกัน ผู้คนในยุคสมัยนั้นมักจะใช้มันในกีฬา Bull-baiting และใช้มันเพื่อช่วยงานในโรงฆ่าสัตว์ ในฟาร์ม เป็นสุนัขเฝ้าบ้าน และมันยังเป็นสุนัขสายพันธุ์แรกที่คนเยอรมันใช้มันเป็นสุนัขตำรวจ หลังจากนั้นได้มีผู้คนบางส่วนนำมันไปแพร่พันธุ์ที่ประเทศอเมริกา จนมันเริ่มได้รับความสนใจและเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศอเมริกา จนกระทั่งในปี ค.ศ.1904 มันก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก American Kennel Club (AKC) และหลังจากปี ค.ศ.1940 มันก็กลายเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์สุนัขที่นิยมในอเมริกามากๆ
 
ในปัจจุบัน สุนัขสายพันธุ์นี้ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอเมริกา มันยังติด 1 ใน 20 อันดับสายพันธุ์สุนัขที่มีคนเลี้ยงมากที่สุดที่จัดอันดับโดยสโมสร AKC แต่ในประเทศไทยก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

ลักษณะนิสัยของ บ็อกเซอร์ 

มันเป็นสายพันธุ์สุนัขที่มีนิสัยกระตือรือร้น ขี้เล่น มีชีวิตชีวา ชอบการวิ่งเล่น และทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้พลังงานเยอะ มันเป็นสุนัขที่ไม่ชอบการถูขังให้อยู่ในที่แคบๆ โดยไม่ได้ออกไปไหนเลยทั้งวัน นอกจากนี้มันยังเป็นสุนัขที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี และรักเจ้าของ ชอบการทำกิจกรรมร่วมกับเจ้าของ มันจะพยายามปกป้องเจ้าของและครอบครัวของมันอยู่เสมอ แต่ว่า ถ้าหากคุณเลี้ยงมันมาแบบผิดๆ เช่น เลี้ยงแบบล่ามโซ่และขังมันตลอดทั้งวันโดยไม่ให้ออกไปไหนเลย เลี้ยงแบบไม่เอาใจใส่ มันก็อาจจะโตมาเป็นสุนัขที่ก้าวร้าวได้
 
เนื่องจากว่าในอดีตมันเคยเป็นสุนัขสำหรับเฝ้ายาม มันจึงมีความหวงอาณาเขต มันมีความสามารถในการเฝ้าบ้านได้ดี เนื่องจากว่ามันเป็นสุนัขที่ตื่นตัว หูไว และมันก็จะเห่าเตือนผู้คนและสุนัขแปลกหน้า ที่พยายามจะรุกล้ำเข้ามาในอาณาเขตของมัน

ความหลากหลายของสีสุนัข

สีตา

บ็อกเซอร์จะมีตาโทนสีดำหรือโทนสีน้ำตาล

สีขน

มันเป็นสุนัขอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีหลากหลายสีให้เลือก เช่น สีน้ำตาล-ขาว, น้ำตาลช็อคโกแลต-ขาว, เทา-ขาว, ดำ-ขาว, สีขาวล้วน และอื่นๆ แต่ส่วนมากจะเป็นสีน้ำตาล-ขาว สีอื่นๆ จะค่อนข้างหายากกว่า

ความเป็นมิตรของบ็อกเซอร์ที่มีต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

มันเป็นสุนัขที่มีความเป็นมิตรต่อผู้คนและเด็กๆ สามารถเปิดใจรับคนและสัตว์แปลกหน้าใหม่ๆ ได้ สามารถอยู่ร่วมกับเด็กๆ และผู้คนในบ้านได้ดี เนื่องจากว่ามันเป็นสุนัขที่ขี้เล่นและพลังงานในตัวเยอะ มันจึงสามารถเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของเด็กๆ มันเป็นสุนัขขนาดปานกลางที่มีความแข็งแรงสูง สามารถทนทานการละเล่นของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี ถ้าสุนัขอยู่ร่วมกับเด็กมาตั้งแต่มันยังเป็นลูกสุนัขจะดีมาก
 
มันยังเป็นสายพันธุ์สุนัขที่สามารถเลี้ยงกับสุนัขและสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ได้เหมือนกัน เช่น แมว เป็นต้น มันสามารถเป็นเพื่อนกับแมวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นได้ สามารถ กิน นอน หยอกล้อกับสุนัขตัวอื่นและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ถ้าเป็นคนหรือสัตว์ตัวอื่นๆ ที่พึ่งเคยเจอกัน มันก็ไม่ใช่สุนัขที่สามารถเข้ากับคนหรือสัตว์แปลกหน้าได้ทันที เราก็ต้องให้เวลามันสักนิดในการค่อยๆ ทำความรู้จักและปรับตัวเข้าด้วยกัน สิ่งที่คุณควรจะรู้ไว้คือเจ้า Boxer ก็มีข้าวที่มันไปทำร้ายคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในต่างประเทศเหมือนกัน ดังนั้นคุณควรจะเลี้ยงดู พามันไปเข้าสังคม ฝึกสอนมันมาอย่างดีและถูกต้องตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หากเลี้ยงดูและฝึกสอนมันมาแบบผิดๆ มันก็อาจจะมีความก้าวร้าวและอาจทำอันตรายได้

การดูแลบ็อกเซอร์ 

การดูแลด้านการออกกำลังกาย

มันเป็นสุนัขพันธุ์ที่พลังงานเยอะมาก ชอบใช้แรง ต้องการการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มันชอบออกไปเล่นนอกบ้าน คุณควรพามันออกมาเดินเล่น จะเป็นการพามันออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกบ้าน หรือจะเป็นทำกิจกรรมต่างๆ กับสมาชิกครอบครัวภายในบ้าน เช่น เล่นปาลูกบอลกับมันก็ดีเช่นกัน  สัก 30-40 ก็เพียงพอแล้วสำหรับสุนัขสายพันธุ์นี้ เพื่อเป็นการปลดปล่อยพลังงานที่มีในตัวสุนัข ซึ่งมันมีส่วนช่วยในการลดความเครียดในตัวสุนัข และเพื่อให้สุนัขมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
 

การดูแลเรื่องการเข้าสังคมและการฝึกสอน

เราควรที่จะให้สุนัขสายพันธุ์นี้ฝึกเข้าสังคมตั้งแต่ที่มันยังเป็นลูกสุนัข ให้มันได้ลองพบปะผู้คนใหม่ๆ เด็กๆ สุนัขตัวอื่นๆ และสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เพื่อให้มันเติบโตมาเป็นสุนัขที่สามารถเข้าสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี นอกจากนี้ควรที่จะฝึกสอนให้มันรู้ลำดับชั้นในครอบครัวของเราด้วย คุณต้องสอนมันให้รู้ว่าเจ้าของนั้นเป็นจ่าฝูงของมัน ถ้าสามารถหาผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเจ้า Boxer มาให้คำปรึกษาด้วยจะดีมาก
 

การดูแลเรื่องสุขภาพโดยรวม

พวกเราอยู่ในประเทศไทยเมืองร้อน เราก็ควรจะระวังเรื่องฮีทสโตรกในสุนัขบ้าง ยิ่งเป็นสุนัขที่มีหน้าสั้นอย่าง Boxer ซึ่งทนความร้อนได้น้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แล้ว ยิ่งควรระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เราควรให้สุนัขอยู่ในที่ที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป มีอากาศถ่ายเท ไม่มีแดดส่องลงมาตรงๆ มีน้ำดื่มมากพอ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขออกแรงเยอะเกินไปในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัด
พยายามควบคุมรูปร่าง และน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ เช่น  โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) ด้วยการพาเจ้าบ็อกเซอร์ ไปทำกิจกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อีกส่วนนึงคือการควบคุม เอาใจใส่คุณภาพและปริมาณอาหารของสุนัขให้ดี ถ้าเป็นอาหารทั่วไป ก็ควรให้อาหารที่ดี มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าวเปล่า ผัก ไข่ ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งรสชาติใดๆ  และผลไม้ชนิดที่สุนัขสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม  ถ้าเป็นอาหารสำหรับสุนัขก็สามารถเลือกสูตรที่เหมาะสมกับสุนัขของคุณได้เลย เช่น สูตรสุนัขขนาดกลาง เป็นต้น

โรคภัยต่างๆ ที่อาจพบใน  Boxer

  • กระเพาะอาหารขยายและบิดตัว (Gastric dilatation-volvulus): เกิดจากการที่กระเพาะขยายตัวจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหาร และเกิดการบิดตัวขึ้นที่กระเพาะอาหารจากการเคลื่อนไหวของสุนัข มักจะเกิดกับสุนัขขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ที่มีอกลึก
  • ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง (Skin Problem): มันมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพต่างๆ เกี่ยวกับผิวหนัง การดูแลรักษาผิวของมันให้สะอาดและไม่อับชื้นจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
  • โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia): เป็นปัญหาสุขภาพที่สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ และบ็อกเซอร์ มักจะเจอคือ วิธีการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคนี้ในสุนัขก็คือการควบคุมน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสายพันธุ์ โดยการควบคุมคุณภาพและปริมาณของอาหารให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และการพาสุนัขออกไปวิ่งออกกำลังกายหรือการให้สุนัขทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้แรงอย่างพอเหมาะเป็นประจำ

 

นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเจอโรคภัยอื่นๆ อีก เช่น

  • ต้อกระจก(Cataract): สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ
  • กระจกตาเสื่อม (Corneal Degeneration/ Dystrophy): วิธีสังเกตก็คือ มันจะมีจุดเล็กๆ สีขาว ในกระจกตา พบได้บ่อยในสุนัขวัยชรา
  • โรคลมแดด (Heatstroke): เกิดจากร่างกายของสุนัขระบายความร้อนที่สูงไม่ได้
  • จอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
  • โรคข้อศอกเสื่อม (Elbow Dysplasia)
  • โรคลำไส้อักเสบ (Canine Parvo Virus)
  • โรคพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm)
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • ไตวาย (Kidney Failure)
  • โรคพิษสุนัขบ้า (Riabies)
  • โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
  • โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า  Boxer

  • เป็นสุนัขที่รักเจ้าของ คอยปกป้องเจ้าของ
  • ต้องการการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • โอกาสเป็น Heatstroke สูงกว่าสุนัขหลายๆ สายพันธุ์
  • ชอบการออกไปเล่นนอกบ้าน
  • ขี้เล่น 
  • พลังงานในตัวเยอะมาก
  • เป็นสุนัขที่มีความหวงเขตแดนของตน
  • ควรมีการฝึกสอนมันในด้านต่างๆ ตั้งแต่เด็ก

Boxer เหมาะกับผู้ที่

  • ชอบสุนัขที่รักเจ้าของ
  • ชอบเลี้ยงสุนัขขนาดกลาง
  • เลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน
  • ชอบสุนัขขนสั้น
  • ชอบสุนัขที่ปกป้องเจ้าของได้
  • ผู้ที่มีเวลาพามันไปออกกำลังกาย

คำถามที่พบบ่อย

  • เลี้ยงในหอพักได้ไหม: ไม่แนะนำ
  • ดุไหม: ปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกสอนและเลี้ยงดูของคุณ
  • เลี้ยงกับแมวได้ไหม: สามารถเลี้ยงกับแมวได้ (ควรได้รับการฝึกมาก่อน)
  • เลี้ยงกับเด็กได้ไหม: สามารถเลี้ยงกับเด็กได้ (ควรได้รับการฝึกมาก่อน)
  • เฝ้าบ้านได้ไหม: เฝ้าบ้านได้ดีมาก
  • เหมาะกับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไหม: ไม่ค่อยเหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้

เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ

 Banner Image