บอร์เดอร์ เทอเรียร์ (Border Terrier) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแลสุนัข

บอร์เดอร์ เทอเรียร์
แชร์ได้เลยที่ปุ่มด้านล่าง

บอร์เดอร์ เทอเรียร์ (Border Terrier) เป็นสายพันธุ์สุนัขจากประเทศอังกฤษที่มีรูปร่างหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ มาพร้อมกับนิสัยน่ารักๆ ของมัน หลายๆ ท่านน่าจะไม่รู้จักสุนัขสายพันธุ์นี้มาก่อน ดังนั้น มาทำความรู้จักกับมันเพิ่มเติมในบทความนี้กัน

ข้อมูลทั่วไปของบอร์เดอร์ เทอเรียร์  

  • ขนาดตัว: เล็ก
  • ความสูง: ตัวผู้: 33–40 ซม.  ตัวเมีย: 28–36 ซม.
  • น้ำหนัก: ตัวผู้: 6-7 กก.  ตัวเมีย: 5-6.4 กก.
  • อายุขัย: 12 – 15 ปี
  • ความยาวขน: ปานกลาง
  • ความฉลาด: ค่อนข้างฉลาด
  • ถิ่นกำเนิด: ประเทศอังกฤษ 🇬🇧 
  • การเอาใจใส่ตัวสุนัข: ปานกลาง
  • ปริมาณการผลัดขน: น้อย
  • ลักษณะเฉพาะ: มีขนตรงปากค่อนข้างยาว ดูคล้ายคลึงกับผู้ชายที่ไว้หนวดเครา ขนดูหยาบกร้านและมีสีดำแซมทั่วตัว
 

ประวัติของบอร์เดอร์ เทอเรียร์ 

สุนัขสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดที่ชายแดนระหว่างประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 เหล่าชาวนาและคนเลี้ยงปศุสัตว์ต้องการสุนัขที่มีความแข็งแรง กล้าหาญ ละมีขนาดตัวที่เล็กพอที่จะมุดเข้าไปในถ้ำจิ้งจอก เพื่อป้องกันและล่าสุนัขจิ้งจอกขนาดเล็กไม่ให้เข้าไปทำอันตรายกับฝูงแกะ พวกเขาจึงทำการพัฒนาสุนัขสายพันธุ์เทอร์เรียร์ จนกลายมาเป็นเจ้า Border Terrier ในทุกวันนี้ ที่มีความสามารถในการล่าจิ้งจอกที่ดี และมีความทนทานต่อสภายอากาศที่เลวร้ายได้ดี
 
ทาง The Kennel Club ของประเทศอังกฤษได้รู้จักสุนัขสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ.1920 แล้วมันก็ได้ถูกนำตัวไปยังสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ซึ่งทาง American Kennel Club ก็ได้รู้จักสุนัขสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ.1930 ในปัจจุบัน สุนัขสายพันธุ์นี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักละเป็นที่นิยมมากนัก ผู้คนส่วนมากที่รู้จักและเลี้ยงมันจะอยู่ในประเทศอังกฤษซะส่วนใหญ่

ลักษณะนิสัยของบอร์เดอร์ เทอเรียร์ 

มันเป็นสายพันธุ์ที่มีความขี้เล่น เป็นมิตรต่อผู้คนรอบข้าง สามารถผูกมิตรกับผู้คนใหม่ๆ ได้ค่อนข้างรวดเร็ว มันเป็นสุนัขที่มีความจงรักภักดี รักเจ้าของเป็นอย่างมาก มันชอบใช้เวลาอยู่กับเจ้าของและคนในครอบครัว ชอบอยู่ท่ามกลางและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับพวกเขา ไม่ชอบการทูกกักขังให้อยู่ตัวเดียวโดยไม่ได้รับการสนใจทั้งวัน จึงเหมาะสำหรับคนที่มีเวลาอยู่ร่วมกับมันบ้าง แถมมันยังเป็นสุนัขที่ไม่เห่าเยอะเกินความจำเป็น แต่ในสุนัขบางตัวอาจจะมีความดื้อดึงอยู่บ้าง
 
เนื่องจากมันเคยเป็นสุนัขสำหรับล่าจิ้งจอกขนาดเล็กมาก่อน มันจึงมีสัญชาตญาณการล่าสัตว์เล็กมาด้วย จึงควรระวังไว้สักนิดหากคุณมีสัตว์เลี้ยงตัวเล็กจิ๋วภายในบ้าน 

ความหลากหลายของสีสุนัข

สีตา

สุนัขสายพันธุ์แท้ส่วนมากจะมีตาโทนสีดำๆ น้ำตาลๆ
 

สีขน

มันเป็นสุนัขที่มีสีให้เลือกไม่มากนัก โดยสีมาตรฐานของมันจะมีหลักๆ 4 รูปแบบ นั่นคือ
 
  • สีดำน้ำเงิน-สีแทน
  • สีเทา-สีแทน
  • สีน้ำตาลแดง
  • สีน้ำตาลข้าวสาลี

ความเป็นมิตรของเจ้าตูบที่มีต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยง

มันเป็นสุนัขที่มีความรักครอบครัวสูง แถมยังเป็นมิตรกับเด็กๆ พอสมควร มันจึงเป็นสุนัขที่สามารถเลี้ยงกับเด็กๆ ที่อยู่ร่วมกันมากับมันตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขได้เป็นอย่างดี แถมมันยังเป็นสุนัขมีความขี้เล่น จึงสามารถเป็นเพื่อนซี้ของเด็กๆ ภายในบ้าน  ต่ผู้ปกครองก็ควรกำชับให้เด็กๆ เล่นกับมันในขอบเขตที่พอดี ไม่เล่นแรงกับมันมากจนเกินไป เนื่องจากว่ามันตัวเล็กพอสมควร หากได้รับแรงกระแทกแรงๆ อาจจะทำให้เจ้าตูบบาดเจ็บได้
 
มันสามารถเข้ากันกับสุนัขตัวอื่นๆ และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นที่อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่สุนัขยังเล็กได้ดีเช่นกัน สามารถกินด้วยกัน นอนด้วยกัน เล่นหยอกล้อด้วยกันเป็นปกติ แต่ถ้าเป็นสุนัขตัวใหม่ สัตว์เลี้ยงตัวใหม่ หรือเด็กคนใหม่ที่พึ่งเข้ามา เราต้องให้เวลามันทำความรู้จักและทำความคุ้นเคยกับสมาชิกใหม่สักระยะ แล้วจึงค่อยลองนำพวกเขามาใช้ชีวิตร่วมกันดู ความยากง่ายขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยงและฝึกสอนตัวสุนัข
 
และถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ที่ตัวเล็กกว่ามันมากๆ เช่น หนูแฮมสเตอร์ ก็ควรระวังไว้สักหน่อย เนื่องจากว่ามันมีนิสัยชอบสัตว์เล็ก เราช่วดลดนิสัยนี้ของมันได้โดยการให้มันอยู่ร่วมกับสัตว์เล็กเหล่านี้เป็นประจำตั้งแต่มันยังเป็นลูกสุนัข

การดูแลบอร์เดอร์ เทอเรียร์  

การดูแลด้านการออกกำลังกาย

มันเป็นสุนัขที่ต้องการการออกกำลังกายเล็กน้อย คุณควรจะจัดตารางเวลาในการพาเจ้าตูบไปเดินเล่น วิ่งเล่น หรือไม่ก็ให้มันเล่น ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้พลังงานพอสมควร ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว สัก 20-30 นาทีต่อวันก็เพียงพอแล้ว เพื่อช่วยปลดปล่อยพลังงานในตัวสุนัข ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเครียดให้สุนัข และเพื่อให้สุนัขมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ห่างไกลจากปัญหาสุขภาพต่างๆ อยู่เคียงข้างคุณไปได้นานๆ
 

การดูแลเรื่องการเข้าสังคมและการฝึกสอน

ถึงแม้ว่ามันจะเป็นมิตรอยู่แล้ว แต่คุณควรฝึกการเข้าสังคมให้มันบ้าง ไม่ควรขังหรือทิ้งมันไว้ในที่แคบๆ ทั้งวันโดยไม่สนใจมันเลยเด็ดขาด เพราะมันอาจจะทำให้สุนัขเครียดและเก็บกดได้ คุณควรพามันไปทำความรู้จัก และทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่ที่มันยังเป็นลูกสุนัข  เพื่อให้มันรู้สึกคุ้นเคยและรักคนในครอบครัว รวมถึงให้มันไปพบปะกับผู้คนแปลกหน้า สุนัขตัวอื่น และสัตว์เลี้ยงตัวอื่นตั้งแต่มันยังเป็นลูกสุนัขอยู่เสมอ เพื่อฝึกทักษะในการเข้าสังคมให้เจ้าตูบ มีส่วนช่วยให้มันสามารถเปิดใจรับเพื่อนใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นในตอนโตเต็มวัย  และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสัตว์ตัวอื่นได้ดีขึ้นในอนาคต ส่วนเรื่องการฝึกสอนนั้นก็ควรฝึกสอนเจ้าตูบตั้งแต่มันยังเป็นลูกสุนัข มันเป็นสุนัขที่ค่อนข้างฉลาดอยู่แล้ว การฝึกสอนมันขึงไม่ยากเย็นนัก
 

เรื่องการดูแลขนและความสะอาด

มันเป็นสุนัขมีขนหยัก และเป็นขนสองชั้น การดูแลขนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม คุณควรใช้แปรงมาหวีขนให้มันเพื่อให้ขนของมันไม่ติดกันเป็นก้อน เพื่อเอาสิ่งสกปรกในขนมันออกมา และเพื่อหวีขนตายที่อยู่ในตัวมันออกมาให้หมด สักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว หมั่นทำความสะอาดรอบดวงตาของมันโดยการนำสำลีชุบกับน้ำสะอาดหรือน้ำตาเช็ดตาสำหรับสุนัข แล้วก็นำไปเช็ดรอบๆ ดวงตาสุนัขด้วยความระวัง รวมถึงมีการอาบน้ำ ตัดเล็บ ทำความสะอาดใบหูให้มันบ้าง ความถี่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสกปรกมอมแมมของตัวสุนัข
 

การดูแลเรื่องสุขภาพโดยรวม

อย่างที่รู้กันดีว่าอากาศบ้านเราในหน้าร้อนมันร้อนแรงขนาดไหน เราจึงไม่ควรมองข้ามเรื่องฮีทสโตรกในสุนัขเด็ดขาด วิธีป้องกันเบื้องต้น คือ เราควรให้สุนัขอยู่ในที่ที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป มีอากาศถ่ายเท ไม่อบอ้าว ไม่มีแดดส่องลงมาตรงๆ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขใช้พลังงานเยอะเกินไปในช่วงกลางวัน มีน้ำดื่มให้มันมากพอ เลือกเวลาในการพาสุนัขไปทำกิจกรรมนอกบ้านให้ดี ให้เลือกช่วงเช้าหรือช่วงเย็นแทนตอนกลางวัน และห้ามลืมเจ้าตูบไว้บนรถยนต์ร้อนๆ ที่ดับเครื่องแล้วเป็นอันขาด

คุณควรควบคุมรูปร่าง และน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน (Diabetes in dogs) ด้วยการพาเจ้าตูบไปวิ่งเล่นและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อีกส่วนนึงคือการควบคุม เอาใจใส่คุณภาพและปริมาณอาหารของสุนัขให้ดี เลือกประเภทอาหารที่เหมาะสมกับตัวสุนัข จะเป็นการทานแบบบาร์ฟ อาหารปกติทั่วไป หรือจะเป็นอาหารสำหรับสุนัขโดยเฉพาะก็ได้ ถ้าเป็นอาหารทั่วไปก็ควรเป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ปลาทู ไข่ไก่ ตับ ข้าว โดยไม่ปรุงแต่งเครื่องปรุงใดๆ เพิ่มลงไป สามารถให้ผลไม้ชนิดที่สุนัขทานได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ถ้าเป็นอาหารสำหรับสุนัขก็สามารถเลือกสูตรที่เหมาะสมกับสุนัขของคุณได้เลย เช่น สูตรสุนัขเล็ก เป็นต้น ขนมที่เราทานกันควรให้มันทานแต่น้อย หรือไม่ให้มันเลยจะส่งผลดีต่อตัวสุนัขมากกว่า

โรคภัยต่างๆ ที่อาจพบใน Border Terrier

  • โรคอ้วน (Diabetes): เราสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ในตัวสุนัขได้ โดยการควบคุมน้ำหนักตัวของมันให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสายพันธุ์ ด้วยการเอาใจใส่เรื่องโภชนาการของสุนัขให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดตัว ไม่ให้มันทานอาหารและขนมสำหรับมนุษย์ที่มีแคลรอลี่สูง รวมถึงมีการพามันไปวิ่งเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ใช้แรงอย่างสม่ำเสมอ
  • โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia): เราสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ในตัวสุนัขได้เช่นกัน โดยการควบคุมน้ำหนักตัวของมันให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสายพันธุ์ ด้วยการเอาใจใส่เรื่องโภชนาการของสุนัขให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดตัว พามันไปวิ่งเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ใช้แรงอย่างสม่ำเสมอ และถ้าเป็นไปได้ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเดินบนพื้นกระเบื้องหรือพื้นแบบอื่นๆ ที่ทำให้สุนัขลื่นล้มได้
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy): เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่สามารถสืบทอดทางพันธุกรรมได้ อาการคือ สุนัขดูมองเห็นได้ไม่ค่อยดีในที่มืด และมักจะเดินชนสิ่งรอบตัว
 

นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเจอโรคภัยอื่นๆ อีก เช่น

  • กระจกตาเสื่อม (Corneal Degeneration/ Dystrophy): วิธีสังเกตก็คือ มันจะมีจุดเล็กๆ สีขาว ในกระจกตา พบได้บ่อยในสุนัขวัยชรา
  • โรคลมแดด (Heatstroke): เกิดจากร่างกายของสุนัขระบายความร้อนที่สูงไม่ได้
  • โรคข้อศอกเสื่อม (Elbow Dysplasia)
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • ไตวาย (Kidney Failure)
  • โรคพิษสุนัขบ้า (Riabies)
  • โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
  • โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
  • โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า Border Terrier

  • เป็นสุนัขที่มีความเป็นมิตร
  • เป็นสุนัขที่ขี้เล่น ในขอบเขตที่พอดี
  • รักเจ้าของและคนในครอบครัว
  • ชอบอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มันรัก
  • ชอบไล่จับสัตว์ตัวเล็ก

Border Terrier เหมาะกับผู้ที่

  • ชอบสุนัขขนาดเล็ก พกพาง่าย
  • มีเวลาพามันไปวิ่งเล่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง
  • มีพื้นที่ในการเลี้ยงสุนัขไม่เยอะ
  • ไม่ชอบสุนัขดุ
  • มีเด็กๆ อยู่ในบ้าน
  • ชอบสุนัขที่ไม่เห่าเยอะ

คำถามที่พบบ่อย

  • เลี้ยงในหอพักได้ไหม: เหมาะกับการเลี้ยงในหอพัก
  • ดุไหม: ไม่ดุสักเท่าไหร่
  • เลี้ยงกับแมวได้ไหม: เลี้ยงกับแมวได้ดี ถ้าฝึกและเลี้ยงสุนัขมาดี
  • เลี้ยงกับเด็กได้ไหม: เลี้ยงกับเด็กได้ดีมาก
  • เฝ้าบ้านได้ไหม: พอเห่าเฝ้าบ้านได้นิดหน่อย
  • เหมาะกับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไหม: เหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้เพียงเล็กน้อย

เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ

 Banner Image