อาคิตะ อินุ (Akita Inu) เป็นสายพันธุ์สุนัขจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีหน้าตาและสีคล้ายๆ กับจิ้งจอง หางม้วนๆ ที่เต็มไปด้วยขนเหมือนเจ้าชิบะอินุ มาพร้อมกับขนาดตัวที่ใหญ่น่าเอามานอนกอด หลายๆ ท่านคนสนใจในสุนัขพันธุ์นี้ไม่น้อย ไปทำความรู้จักมันเพิ่มเติมกันในบทความนี้กัน
ข้อมูลทั่วไปของอาคิตะ อินุ
- ขนาดตัว: ใหญ่
- ความสูง: ตัวผู้ 65-70 ซม. ตัวเมีย 58-64 ซม. จากไหล่
- น้ำหนัก: เพศเมีย: 32–45 กก เพศผู้: 45–60 กก.
- อายุขัย: 10 – 12 ปี
- ความยาวขน: ปานกลาง
- ความฉลาด: ปานกลาง
- ถิ่นกำเนิด: ประเทศญี่ปุ่น (Japan) 🇯🇵
- การเอาใจใส่: สูง
- ปริมาณการผลัดขน: สูง
- ลักษณะเฉพาะ: หางมีขนพองๆ เหมือนกระรอก หางม้วน หน้าตาคล้ายคลึงกับสุนัขจิ้งจอก มีลักษณะและสีสีนคล้ายเจ้าชิบะแต่ว่ามีขนาดตัวใหญ่กว่าพอสมควร
ประวัติของ Akita Inu
ลักษณะนิสัยของอาคิตะ อินุ
ความหลากหลายของสายพันธุ์ย่อยและสีของสุนัข
สายพันธุ์ย่อย
- Japanese Akita Inu 🇯🇵: มีความหลากหลายของสีน้อย มีร่างกายที่แข็งแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อเมริกัน หัวลักษณะเหมือนสุนัขจิ้งจอก
- American Akita Inu 🇺🇸: จะมีความหลากหลายของสีมากกว่าสายพันธุ์ญี่ปุ่น บางตัวจะมีหัวสีดำ จะมีโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรงกว่า ตัวใหญ่กว่า หัวมีลักษณะเหมือนหมี
ความหลากหลายของสีสุนัข
สีตา
สีขน
ความเป็นมิตรของอาคิตะอินุที่มีต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
การดูแลอาคิตะ อินุ
การดูแลด้านการออกกำลังกาย
การดูแลเรื่องการเข้าสังคมและการฝึกสอน
เรื่องการดูแลขนและความสะอาด
การดูแลเรื่องสุขภาพโดยรวม
พยายามควบคุมรูปร่าง และน้ำหนักตัวของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) ด้วยการพาเจ้าอาคิตะอินุไปทำกิจกรรมและออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ อีกส่วนนึงคือการควบคุม เอาใจใส่คุณภาพและปริมาณอาหารของสุนัขให้ดี ถ้าเป็นอาหารทั่วไป ก็ควรให้อาหารที่ดี มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าวเปล่า ผัก ไข่ ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งรสชาติใดๆ และผลไม้ชนิดที่สุนัขสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าเป็นอาหารสำหรับสุนัขก็สามารถเลือกสูตรที่เหมาะสมกับสุนัขของคุณได้เลย เช่น สูตรสุนัขใหญ่
โรคภัยต่างๆ ที่อาจพบใน Akita Inu
- กระเพาะอาหารขยายและบิดตัว (Gastric dilatation-volvulus): เกิดจากการที่กระเพาะขยายตัวจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหาร และเกิดการบิดตัวขึ้นที่กระเพาะอาหารจากการเคลื่อนไหวของสุนัข มักจะเกิดกับสุนัขขนาดตัวค่อนข้างใหญ่
- โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia): คือโรคภัยที่สุนัขขนาดใหญ่และเจ้าอาคิตะมักจะเจอ วิธีการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคนี้ในสุนัขก็คือการควบคุมน้ำหนักตัวของสุนัขให้ ด้วยการพาเจ้าตูบออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ ประกอบกับการเอาใจใส่เรื่องคุณภาพและปริมาณของอาหารให้เหมาะสมกับขนาดตัวสุนัข
- ภาวะไทรอยด์ต่ำผิดปกติ (Hypothyroidism): เกิดจากการที่สุนัขมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติซึ่งถือว่าเป็นความผิดปกติของร่างกายที่ต้องได้รับการรักษา
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเจอโรคภัยอื่นๆ อีก เช่น
- ต้อกระจก(Cataract): สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ
- กระจกตาเสื่อม (Corneal Degeneration/ Dystrophy): วิธีสังเกตก็คือ มันจะมีจุดเล็กๆ สีขาว ในกระจกตา พบได้บ่อยในสุนัขวัยชรา
- โรคลมแดด (Heatstroke): เกิดจากร่างกายของสุนัขระบายความร้อนที่สูงไม่ได้
- จอประสาทตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
- โรคข้อศอกเสื่อม (Elbow Dysplasia)
- โรคหัดสุนัข (Canine Distemper)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- โรคพิษสุนัขบ้า (Riabies)
- โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
- โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
- กลากเกลื้อน (Ringworm)
- โรคพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า Akita Inu
- เป็นสุนัขที่รักเจ้าของ
- ต้องการการออกกำลังกายบ้างนิดหน่อย
- ดื้อ สอนยาก
- ชอบอยู่ใกล้เจ้าของและคนในครอบครัว
- ชอบทำกิจกรรมร่วมกับผู้คนในครอบครัว
- ไม่ค่อยเป็นมิตรกับสุนัขตัวอื่น
Akita Inu เหมาะกับผู้ที่
- ชอบสุนัขที่รักเจ้าของและครอบครัว
- ผู้ที่มีเวลาอยู่ร่วมกับมัน ทำกิจกรรมด้วยกันบ้าง
- ผู้ที่มัความอดทนในการฝึกสอนมัน
- ชอบสุนัขขนาดใหญ่
- ผู้ที่เลี้ยงสุนัขตัวเดียวภายในบ้าน
- ผู้ที่มีประสบการณ์การเลี้ยงสุนัขมาก่อน
- ผู้ที่ไม่มีเด็กเล็กภายในบ้าน
- เลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน
คำถามที่พบบ่อย
- เลี้ยงในหอพักได้ไหม: ไม่แนะนำเลย
- ดุไหม: ปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกสอนด้วย
- เลี้ยงกับแมวได้ไหม: พอเลี้ยงด้วยกันได้ แต่ไม่ค่อยเหมาะ ต้องได้รับการฝึกมา
- เลี้ยงกับเด็กได้ไหม: พอเลี้ยงด้วยกันได้ แต่ต้องได้รับการฝึกมา
- เฝ้าบ้านได้ไหม: เฝ้าบ้านได้ดี
- เหมาะกับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไหม: ไม่ค่อยเหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้
เรื่องเจ้าตูบที่คุณอาจจะชอบ
อ่านเรื่องไหนต่อดี
อลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute) ข้อมูล ลักษณะนิสัยและการดูแลสุนัข
ปริมาณการให้อาหารแมวต่อน้ำหนักตัว และจำนวนมื้อที่เหมาะสม
ตาข่ายแยกสุนัข รั้วกั้นสุนัข แบบไหนดีและไม่ต้องเจาะบ้าง ปี 2023
8 โอบิสุนัข กางเกงในสุนัข แบบไหนดีและนำไปซักได้ ปี 2023
10 อาหารสุนัขป่วย ยี่ห้อไหนดีและช่วยน้องพักฟื้นร่างกาย ปี 2023
เล่นกับแมวยังไงดี และการเล่นกับแมวมีข้อดียังไง
ประตูสุนัข แบบไหนดี มีความแข็งแรง และรีวิวปังบ้าง ปี 2023
100+ ไอเดียตั้งชื่อแมวสีส้ม ที่น่าฟังและมีความสดใสเข้ากันกับสีเจ้าเหมียว